ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน

สัญลักษณ์ โรงเรียนเวียงมอกวิทยา

รูปมือที่โอบอุ้มดอกบัวให้พ้นน้ำล้อมรอบด้วยบูมเมอแรง

  • ดอกบัว หมายถึง ความดีความบริสุทธิ์ของนักเรียน ที่มีครูคอยอุ้มชูให้อยู่เหนือน้ำ
  • บูมเมอแรง หมายถึง เมื่อนักเรียนเรียนรู้และนำความรู้มาพัฒนาโรงเรียนและชุมชน

อักษรย่อโรงเรียน : วม.

สีประจำโรงเรียน : เขียว-ขาว – สีเขียว หมายถึง ความเจริญงอกงาม

    -  สีขาว หมายถึง ความดีความบริสุทธิ์

เอกลักษณ์โรงเรียน (Uniqueness) : “มีคุณธรรม จริยธรรม”

อัตลักษณ์โรงเรียน (Identity) : “ไหว้งามตามแบบไทยยิ้มสดใสด้วยไมตรี”

ปรัชญาโรงเรียน (Philosophy) : นตฺ ปญฺญา สมา อาภา (แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)

ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นสักทอง

(เป็นไม้คุณภาพดี มีคุณประโยชน์ใช้สอย คงทน เสมือนนักเรียนที่มีคุณภาพ สามารถสร้างประโยชน์มากมายสู่สังคม)

ดอกไม้ประจำโรงเรียน : กาสะลอง

(ดอกสีขาว หมายถึง ความดี ความบริสุทธิ์ กลิ่นหอมที่ฟุ้งกระจาย เสมือนความดีของนักเรียนที่สร้างชื่อเสียงให้กับสถาบัน)

วิสัยทัศน์โรงเรียน (Vision)

“มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ สู่มาตรฐานการศึกษา ชุมชนร่วมพัฒนา นำภูมิปัญญามาใช้ ให้บรรยากาศน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ :

1. เร่งรัดพัฒนาจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายปฎิรูปการศึกษา
2. มุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุม
3. จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน
4. ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นแหล่งเรียนรู้
5. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

เป้าหมายการศึกษา

1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ด้วยระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. พัฒนาระบบภาคเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา
3. พัฒนาหลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นการบูรณาการ
4. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้และก้าวนำสู่ครูมืออาชีพ         
5. พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
6. พัฒนานักเรียนให้เป็นเยาวชนที่เรียนดี  มีวินัย มีคุณธรรม  เป็นผู้นำกิจกรรมดี  กีฬาเด่น  ใช้เทคโนโลยีเป็น และมีวิชาชีพ

กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 2 ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในการเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 3  สร้างความเสมอภาคและโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลยุทธ์ที่ 4  พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 5  พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน